หน้าบทความ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กองทุนรวม ใครๆ ก็ซื้อได้ (ตอน 3) เลือกกองทุนรวม


หลังจากตอนที่แล้ว เลือกกองทุนและพร้อมจะออกไปซื้อที่ธนาคาร ปรากฎว่าระบบของทางธนาคารยังไม่เสถียรจึงไม่พร้อมเปิดบัญชีให้เรา -"-

ทีนี้เลยคิดว่าจะมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในการคัดเลือกกองทุนแล้วกัน เพราะตอนที่แล้วรวบรัดไปหน่อยเพราะไม่อยากให้เยอะแยะมาก แต่ไหนๆก็ยังพอมีเวลาเราก็จะขอมาเพิ่มเติมอีกหน่อยนึง

ข้อมูลกองทุนรวมตลาดเงิน   2 ตัวเดิมที่เรานำมาเทียบครั้งที่แล้ว
K-MONEY ของบลจ.กสิกรไทย กับ B-TREASURY ของบลจ.บัวหลวง

หน้าเว็บของแต่ละบลจ.จะระบุข้อมูลเบื้องต้นของหุ้นไว้ประมาณนึง เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้ามาดู และหากสนใจผู้ลงทุนก็จะคลิ๊กเข้าไปโหลดหนังสือชี้ชวน และข้อมูลของกอทุนมาอ่านเพิ่มเติมต่อไป

ตัวอย่าง K-MONEY 

หลังจากที่เราเลือกหุ้นแล้ว หน้าเว็บจะแสดงราคา NAV ล่าสุดของหุ้นที่เราเลือกดู ซึ่งเป็นราคาแบบยังไม่รวมค่าธรรมเนียมใดๆ เป็นราคาที่จะใช้คำนวนในวันที่เราซื้อ ดูจากกราฟของ K-money ก็เรื่อยๆ ไม่ยึกยักขึ้นๆลงๆ เหมือนกลุ่มตราสารทุน หรือหุ้นสามัญ ก็อย่างที่เคยบอกไป กองทุนนี้ความเสียงไม่มาก แต่เป็นแบบเน้นคงเงินต้นไว้

ตัวอย่าง B-TREASURY



ของบัวหลวงก็แสดงข้อมูลคล้ายๆ กัน ซึ่งรายละเอียดจำพวก กองทุนนี้นำเงินไปลงทุนในแหล่งเงินใดบ้าง คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ มีค่าธรรมเนียมในการจัดการกองทุนกี่บาท และผลดำเนินการย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมาเป็นอย่างไร ในหนังสือชี้ชวนจะแสดงข้อมูลได้ครบถ้วนกว่านี้ หากสนใจให้โหลดมาอ่านกันเพราะมันสำคัญมากในการจะตัดสินใจเลือกซื้อสักกองทุนนึง

ยังไงถ้าสนใจจะลงทุนแล้วอยากให้ตั้งใจ และทำความเข้าใจเพราะเมื่อไรเราซื้อแล้วก็เท่ากับว่าเราเป็นเจ้าของ เราก็ควรจะต้องรู้จักของๆเรา จะได้จัดการบริหารได้ถูกต้องไม่ต้องมานั่งเสียใจทีหลัง

เจอกันตอนต่อไป ตอนซื้อได้แล้วนั่นล่ะ เพราะคงต้องทิ้งระยะเวลาให้ระบบธนาคารเสถียร และที่สำคัญ
จะลางานได้ไหมน้อออ -_-"

บายย
see ya!

"การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน"

อ่านตอนที่แล้วได้ที่นี่ >>> กองทุนรวม ใครๆ ก็ซื้อได้ (ตอน 2)

หรือติดตามบทความเกี่ยวกับการลงทุนของเราได้ที่นี่จ้า: รวมบทความ"มือใหม่หัดลงทุน"