เส้นทางที่ 1 Eastern Economic Corridor (R12)
ไทย-สปป.ลาว-เวียดนาม กับจีนตอนใต้ เมืองหนานหนิง มณฑลกวางสี
ในยุคนี้ประเทศไทยเราต้องตื่นตัวกับการจะเข้าร่วม AEC กันอย่างเข็มข้น เพราะจะเริ่มเข้าสู้สมาคม AEC กันในปลายปี 2558 ที่จะถึงนี้ ใช่แล้ว! เหลือเวลาอีกไม่ถึงครึ่งปีแล้วนะคะ วันนี้เราจึงขอนำข้อมูลจาก
รายงานต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2557 ในเรื่อง ศักยภาพของเส้นทางขนส่งสินค้าในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นาโขง (GMS) ซึ่งตรงกับสายงานโลจิสติกส์ของเราอยู่พอดี ข้อมูลค่อนข้างเยอะนะ เราจะขอแบ่ง Part เป็น 4 เส้นทางในละแวกเพื่อนบ้านของประเทศไทยแล้วกัน ซึ่งข้อมูลนี้อัพเดตล่าสุด โดยทาง สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ดำเนินโครงการศึกษาต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคกลุ่มแม่น้าโขง (GMS) จัดการสำรวจเส้นทางการขนส่งสินค้าในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนสารวจข้อเท็จจริงด้านความพร้อมและศักยภาพของประตูการค้าจุดผ่านแดน และสภาพเส้นทางขนส่งสินค้าที่มีศักยภาพในการขนส่ง
จำนวน 4 เส้นทาง สรุปได้ดังนี้
เส้นทางที่ 1 Eastern Economic Corridor (R12)
เส้นทาง Eastern Economic Corridor (R12) เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างไทย-สปป.ลาว-เวียดนาม กับจีนตอนใต้ เมืองหนานหนิงมณฑลกวางสี โดยระยะทางส่วนใหญ่เป็นโครงข่ายถนนสายหลักในแนวเหนือใต้ของเวียดนาม ระยะทางรวมของเส้นทาง R12
จากจังหวัดนครพนม ข้ามสะพานแม่น้าโขงแห่งที่ 3 ถึง สปป.ลาว เวียดนาม และ หนานหนิง ระยะทางประมาณ 1,200 กิโลเมตร
สภาพเส้นทาง ช่วง สปป.ลาว ระยะทาง 160 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร ไม่มีไหล่ทาง ต้องใช้ความระมัดระวัง ตัดผ่านเทือกเขา ป่าไม้ และพื้นที่เกษตรกรรม บางช่วงอยู่ระหว่างปรับปรุงผิวถนน และในเวียดนามเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจรไม่มีจุดพักรถระหว่างทาง รวมทั้งสิ่งอานวยความสะดวกระหว่างทางอาทิ ร้านอาหาร และสถานีบริการน้ามัน มีค่อนข้างน้อย
สภาพการขนส่งสินค้า การขนส่งสินค้าจากจ.นครพนมไปเมืองหนานหนิง โดยรถบรรทุกใช้เวลาเพียง 3 วัน ประกอบกับสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างมากใน สปป.ลาว รวมทั้งพวกวัสดุก่อสร้าง การขนส่งตามเส้นทาง R12 มีปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังมีการเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้าโขงแห่งที่ 3 (นครพนม) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่านแดนไปเวียดนามและจีนตอนใต้
ที่มา: โครงการศึกษาต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (GMS) สศช. |
คลิ๊ก >> เส้นทางที่ 1 Eastern Economic Corridor (R12)
ที่มา: โครงการศึกษาต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (GMS) สศช.
: รายงานต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2557
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ ติดตามให้ครบทั้ง 4 เส้นทางคราวหน้า
ขอบคุณค่ะ