วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ยื่นภาษีเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต Smart TAX E-Filing


แนะนำการลงทะเบียน >>

ยื่นภาษีเอง! ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ได้ง่ายๆ 

แค่ 9 ขั้นตอน

ก่อนจะกรอกภาษี เช็กเอกสารให้ครบตามนี้
  1.  หนังสือรับเงินเดือน (50 ทวิ) อันนี้บริษัทเขาจะมีให้เรา ซึ่งในนั้นจะระบุว่า เรามีรายได้เท่าไร ชำระค่าประกันสังคม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปแล้วเท่าไร ตัวเลขเหล่านั้นแหละ ที่เราต้องนำมามากรอกในการยื่นภาษี
  2.  รายการลดหย่อน เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา, บุตร, อุปการะคนพิการ ลดหย่อนจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ฯลฯ 
  3. เอกสารลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เช่น ค่าซื้อสินค้าและบริการ, จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน LTF/RMF, จำนวนเงินบริจาค, จำนวนเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายไป, ลดหย่อนจากการท่องเที่ยวภายในประเทศ

เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อม คราวนี้ก็เริ่มต้นยื่นภาษีออนไลน์ตาม 9 ขั้นตอนแบบนี้ได้เลย
  1. ไปที่เว็บไซต์ epit.rd.go.th ของกรมสรรพากร ที่สำคัญต้องอย่าลืมคลิกลงทะเบียน ด้วยการกรอกข้อมูลส่วนตัวก่อน เพราะต้องใช้ username และ password ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี ถ้าใครเคยยื่นแล้วลืม password ให้เลือกลืมรหัสผ่าน เพื่อตอบคำถามที่เราเคยตั้งไว้ แต่หากลืมคำถามที่เคยตั้งไว้ด้วย ให้เลือก "เปลี่ยนรหัสผ่าน" แล้วกรอกข้อมูลตามขั้นตอน
  2.  เลือก ภ.ง.ด.90/91 ยื่นด้วยตัวเอง โดยคุณจะต้องเลือกว่าเป็น ภ.ง.ด.ไหน (อ่านเพิ่มเติมเรื่องการเลือก ภ.ง.ด.ได้>>ที่นี่)
  3.  มาที่หน้า "แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี ...." ตรงนี้จะมีข้อมูลที่เราลงทะเบียนไว้ ตรวจสอบด้วยนะ ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีข้อมูลไม่ถูกต้อง สามารถจัดการแก้ไขได้ตอนนี้เลย ก่อนที่จะเริ่มต้นการกรอกข้อมูล 
  4. มาที่ช่อง"สถานภาพของผู้มีเงินได้" กรณีเป็น "บุคคลธรรมดา" ให้เลือกระหว่าง "โสด/สมรส/หม้าย"
  5. จากนั้นมาที่ "เลือกเงินได้/ลดหย่อน" ส่วนนี้ให้เรากรอกข้อมูลรายการเงินได้พึงประเมินและค่าลดหย่อน
     5.1 รายการเงินได้พึงประเมิน ติ๊กเครื่องหมายหน้าช่องที่เป็นแหล่งที่มาของเงินได้ เช่น
- หากมีรายได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญ โบนัส ให้ติ๊กที่ช่อง "มาตรา 40(1)
- แต่หากมีรายได้จากอื่น ๆ ด้วย ให้ติ๊กช่องอื่นเพิ่มเติม เช่น มีรายได้จากเงินปันผลของกองทุนรวมที่ซื้อไว้ ให้ติ๊กที่ช่อง "มาตรา 40(8)" กรณีได้รับเงินจากการขายบ้าน ให้ติ๊กที่ช่อง "เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์"
     5.2 เลือกเงินได้ที่ได้รับยกเว้น/ค่าลดหย่อน มีค่าลดหย่อนอะไรบ้างก็เลือกที่ช่องนั้น เช่น
- บริษัทหักเงินประกันสังคมไป ให้เราเลือกที่ช่อง "เงินสมทบกองทุนประกันสังคม"
- กรณีดูแลบิดา-มารดาอายุเกิน 60 ปี ให้เลือกช่อง "อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป"
- หากซื้อกองทุน LTF ไว้ลดหย่อนภาษี ก็เลือกช่อง "ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF"


6. จากนั้นมาที่"บันทึกเงินได้" เตรียมใบ 50 ทวิ ที่บริษัทให้มาได้เลย ดูที่มาตรา 40(1) ให้กรอกเงินได้พึงประเมิน คือเงินที่เราได้รับจากค่าจ้างทั้งหมด พร้อมทั้งจำนวนภาษีที่บริษัทหัก หากมีเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็กรอกตัวเลขตามนั้นส่วนช่อง "เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้" ให้กรอกเลขภาษีของบริษัทที่จ่ายเงินให้เรา มีข้อมูลอยู่ในใบ 50 ทวิ นี่แหละ หากมีเงินได้นอกเหนือจากค่าจ้าง ก็จะมีช่องให้กรอกเพิ่มเติม
7. มาที่ช่อง "บันทึกค่าลดหย่อน" ให้กรอกข้อมูลการลดหย่อนต่าง ๆ เช่น กรณีอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา-บุตร-คนพิการ ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชนของผู้ที่เราอุปการะ
8. จากนั้นจะมาที่ "คำนวณภาษี" ซึ่งระบบจะคำนวณให้เอง เพียงแค่เรากรอกทุกอย่างมาครบแล้ว คลิกที่ช่องคำนวณ ระบบจะคำนวณให้ทันที หากข้อมูลระบุว่า "ชำระเพิ่มเติม" แสดงว่าเราต้องเสียภาษีเพิ่ม ซึ่งสะดวกเพราะสามารถจ่ายผ่านออนไลน์ตรงนี้ได้เลยผ่านบัตรเครดิตที่เรามี
แต่ถ้าข้อมูลระบุว่า "ชำระไว้เกิน" ก็ได้เงินคืน ตรงนี้ในแบบฟอร์มจะมีข้อความระบุให้เลือกว่า ประสงค์รับเงินคืนหรือไม่รับ หรือจะบริจาค ก็ติ๊กเลือกตามความประสงค์ และสามารถเลือกได้ว่า จะรับเงินคืนแบบเข้าบัญชีธนาคารที่เรามีอยู่ หรือรับผ่านไปรษณีย์
9. ท้ายสุดคือ "ยืนยันการยื่นแบบ" หากกรอกทุกอย่างถูกต้องแล้ว กดยื่นยันได้เลย
ขอแนะนำเพิ่มเติมอีกนิด หลังจากทำตามขั้นตอนทุกอย่างเรียบร้อย หน้าสุดท้ายที่ขึ้นมา ระบบจะแจ้งว่า เรายื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ไปแล้ว วันไหน มีตัวเลขระบุ หน้าที่เซฟเก็บไว้เป็นหลักฐานสำหรับการทวงถามด้วย

อีกอย่างคือ แบบฟอร์มการยื่นออนไลน์ กรมสรรพากรเป็นอะไรไม่รู้ ชอบเปลี่ยนทุกปี อย่างงก็แล้วกัน เอาเป็นว่าหลักๆ ที่เราต้องกรอก ตามข้อมูลเบื้องต้น และการยื่นออนไลน์ กรมสรรพากรจะสุ่มเรียกขอเอกสารเพิ่มเติม โดยจะส่งเป็นจดหมายกลับมา เพราะฉะนั้นเอกสารการยื่นภาษีต้องเก็บไว้ให้ครบ กรณีปีไหนสุ่มโดนเราขึ้นมา จะได้มีเอกสารส่งกลับไปให้ตรวจสอบ และเขาก็มีหลายวิธีให้เราส่งเอกสาร ทั้ง แฟกซ์ ไปรษณีย์ และออนไลน์ เรียกว่าอำนวยความสะดวกกันเต็มที่ แบบนี้แล้วก็อย่าลืมยื่นภาษีให้ตรงเวลา จะได้ไม่โดนปรับให้ปวดหัวทีหลังนะจ๊ะ


Cr.
WWW.AZAY.CO.TH 
Healthy Living
เริ่มออมเงิน >>

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

28 สวนสาธารณะทั่วกรุงเทพฯ ที่ให้ประชาชนเข้าไปลอยกระทง วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559

28 สวนสาธารณะทั่วกรุงเทพฯ ที่ให้ประชาชนเข้าไปลอยกระทง วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ตั้งแต่เวลา 15.00-24.00 น.​